วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภัยใกล้ตัว!!! ภูมิแพ้และปัญหาไรฝุ่น

แทบทุกท่านคงเคยได้ยิน ความสัมพันธ์ของไรฝุ่น กับภูมิแพ้ หลาย ๆ ท่านอยากทราบว่า จะป้องกันอย่างไร มีประโยชน์หรือไม่

ไรฝุ่นบ้าน house dust mite เป็นแมลงที่อยู่อาศัยปะปนกับฝุ่น ในบริเวณที่แสงส่องไม่ถึง ชอบความชื้น ไม่ทนต่อความแห้ง อาศัยขี้ไคล รังแค เป็นอาหาร ส่วนใหญ่ในบ้านเรือน จะอยู่ตาม ที่นอน หมอน เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ตุ๊กตา ขยายพันธ์ได้รวดเร็ว ถ้าอุณหภูมิเเหมาะสมเช่น 25 องศา และความชื้นเหมาะ ร้อยละ 70-80 ขยายพันธ์เร็ว และออกไข่มาก ทั้งตัวมันและมูล มีโปรตีนในการก่อภูมิแพ้สูง ถ้าเรียงตามลำดับการก่อการแพ้ จะได้แก่ มูล ตัวแก่ ตัวอ่อน ไข่


การหลีกเลี่ยงไรฝุ่น จะทำให้การแพ้ลดลง จากมาตรฐาน การมีไรฝุ่นมากกว่า 2 ไมโครกรัมต่อกรัมฝุ่น จะก่อให้เกิดแพ้ และในปริมาณ 10 ไมโครกรัมต่อกรัมฝุ่น จะทำให้เกิดการจับหืดเฉียบพลัน


วิธีดีที่สุดในการป้องกัน คือการใช้วัสดุคลุม โดยเฉพาะผ้าทอแน่น ปัจจุบัน มีหลายชนิด เช่น พลาสติก หรือเคลือบด้วยยูรีเทน ซึ่งนอนไม่สบาย รองลงมาคือผ้าทอแน่น( tightly woven)ซึ่งยอมให้อากาศถ่ายเทได้บ้าง อีกชนิด ราคาถูกหน่อย ทำจากใยอัดแน่น ประเภทโพลีเอธีลิน ไม่ได้ทอทำให้เส้นใยสานกันยุ่งเหยิง ซึ่งมักระบุว่าป้องกันน้ำได้ และไม่แนะนำให้ซัก


วัสดุที่นำมา ต้องดูที่รูห่าง ถ้าน้อยกว่า 6 ไมครอน จะป้องกันได้ดีที่สุด และเมื่อดูในแง่เนื้อผ้า พบว่า ผ้าทอแน่น ดีกว่าเพราะสามารถซักได้และไม่เก็บไรฝุ่นในตัวเท่าไร เนื่องจากไรไม่สามารถเจาะแทรกได้


ข้อมูล สมาคมอิมมูโนวิทยาและภูมิแพ้แห่งประเทศไทย


โรคแพ้อากาศ


โรคแพ้อากาศ เป็นโรคแพ้อย่างหนึ่งที่พบมากในบ้านเรา เนื้อหาสั้น ๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบภูมิแพ้ รพ.กรุงเทพครับ

โรคภูมิแพ้อากาส เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ทางการหายใจ


อาการเด่น


คันจมูก คันตา น้ำมูกใส จามบ่อย ๆ แน่นจมูก รู้สึกแน่นจมูกเช้า บางครั้งเจ็บคอเช้า ๆ

สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย


ฝุ่น นุ่น ซากแมลงสาบ ละอองเกสรพืช ไรฝุ่นในที่นอนในบ้าน ขนสัตว์ เชื้อราในอากาศเชื่อว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ โดยพบว่า ถ้าพ่อแม่เป็น ลูกมีโอกาสที่จะเป็นด้วยถึง 75 %

สิ่งกระตุ้นให้โรคเป็นมาก คือการได้รับสัมผัส การเปลี่ยนแปลงของอากาศ สุขภาพอ่อนแอ ความเครียด


อาการที่พบร่วมบ่อย


อาจพบ หอบหืด ลมพิษ แพ้อาหาร คันตา ตาอักเสบ ร่วมกัน


การดูแลรักษา


การดูแลตนเอง
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน
รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
หลีกเลี่ยงความเครียด
ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรใช้ยาเอง

การดูแลสิ่งแวดล้อม

1. กำจัดฝุ่นละอองและตัวไรในห้องนอน

ทำความสะอาดห้องนอนทุกวัน
จัดห้องนอนให้โล่ง มีเครื่องตกแต่งน้อยชิ้นที่สุด
หลีกเลี่ยงวัสดุที่ทำจากขนสัตว์ นุ่น
หลีกเลี่ยงการใช้พรม
ที่นอน หมอน ควรนำออกตากแดดทุกสัปดาห์
ผ้าคลุมที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม มุ้ง ผ้าคลุมเตียง ควรทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
เก็บหนังสือและเสื้อผ้า ในตู้ที่ปิดมิดชิด
ใช้วัสดุที่เป็นใยสังเคราะห์ หรือฟองน้ำ

2. กำจัดแหล่งที่อยู่ของแมลงสาบ และแมลงอื่น ๆในบ้าน

3. ลดปริมาณละอองเกสรดอกไม้ หญ้า

หลีกเลี่ยงการนำดอกไม้สด หรือต้นไม้ไว้ในบ้าน ตัดหญ้าและวัชพืชออก

4. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดหรือนำสัตว์เลี้ยงมาใว้ในบ้าน

5. กำจัดเชื้อรา

อย่าให้เกิดความชื้นหรืออับทึบ กำจัดแหล่งเชื้อรา เช่น ห้องน้ำ กระถางต้นไม้ ห้องครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น