วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เมล็ดงาและน้ำมันงา


มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า มีการปลูกงามาตั้งแต่ยุตหรัปปันซึ่งเป็นหนึ่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในแถบลุ่มแม่น้ำสินุเมื่อราวสองพันปีก่อนคริสตกาล

ชาวฮินดูเชื่อว่าเมล็ดงาเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ และมหาศรีเทวีซึ่งเป็นชายาของพระวิษณุเป็นตัวแทนของคุณสมบัติของเมล็ดงา ด้วยเหตุผลนี้จึงถือกันว่าน้ำมันงาเป็นน้ำมันที่เป็นมงคลที่สุดรองจาก “ฆี” (ghee) หรือเนยไส และถูกใช้ในพิธีกรรมและการสวดต่างๆ

คัมภีร์อายุเวทกล่าวถึงเมล็ดงาว่า มีรสขม ฝาด หวาน เผ็ดร้อน ย่อยยาก ชุมชื้น มีคุณสมบัติร้อน บำรุงกำลัง บำรุงผม บำรุงน้ำนม ดีต่อผิวหนัง ทำให้ฟันแข็งแรง และในบรรดาเมล็ดงา 5 ชนิด ซึ่งได้แก่ งาดำ งาขาว งาแดง งาป่า และงาเมล็ดเล็ก งาดำจัดว่าเป็นเลิศที่สุด โดยนอกจากสรรพคุณที่กล่าวมาแล้ว งาดำ งาขาว งาแดง ง่าป่า และ งาเมล็ดเล็ก งาดำจัดว่าเป็นเลิศที่สุด โดยนอกจากสรรพคุณที่กล่าวแล้ว งาดำยังมีสรรพคุณบำรุงอสุจิอีกด้วย

อาจเป็นด้วยประโยชน์และสรรพคุณมากหลายของเมล็ดงา ทำให้มีการใช้งาเป็นส่วนผสมในอาหารและทำเป็นขนมหลากหลายชนิดในวัฒนธรรมต่างๆ เกือบทั่วโลก เช่น ตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล เอเชียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น รวมทั่งในอินเดียซึ่งนอกจากเป็นส่วนผสมในอาหารและทำเป็นขนมชนิดต่างๆ แล้ว ยังใช้ในพิธีกรรมสักการะบุชามาแต่โบราณอีกด้วย

สตรีแห่งบาบิลอนในยุคโบราณรับประทานหัลวา (halva) ซึ่งทำมาจากน้ำผึ้งและเมล็ดงาเพื่อให้อ่อนเยาว์และเพื่อความสวยงาม ในขณะที่ทหารโรมันบริโภคเพื่อบำรุงและเสริมสร้างพลัง

คัมภีร์การแพทย์ของชาวทมิฬกล่าวถึงน้ำมันงาว่าเป็น “น้ำมันที่เป็นเลิศ” โดยมีโศลกซึ่งมีความหมายว่า “ใช้เพื่อบำรุงสำหรับผู้ที่ผ่ายผอม และใช้ทาเพื่อลดความอ้วนสำหรับผู้ที่น้ำหนักเกิน”

คัมภีร์อายุรเวทแนะนำว่าการอมน้ำมันงา จะช่วยให้ฟัน เหงือก และขากรรไกรแข็งแรงบำรุงเสียงและขจัดรอยเหี่ยวย่นบนแก้ม โดยอมน้ำมันงาอุ่นๆ ไว้ในปากสักครู่ และกลั้วไปมาแรงๆ ก่อนจะบ้วนทิ้ง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Yoga Journal

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น